เมนู

9. มหาอัสสปุรสูตร



[459] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่
เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อม
รู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็น
อะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวก
เธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักสมาทานประพฤติกรรม ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็น
พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา
ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลาย
นั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา
อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.
[460] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทำความเป็นสมณะและทำ
ความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดำริ
ว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้
พอละพวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ
(มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น

ไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง
หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[461] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์
ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ
เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเรา
เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียง
เท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จเเล้วสามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำ
ดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียง
เท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำ
ให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสีย
เลย.
[462] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์
ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ
เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็น
ผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร และวจีสมาจารบริสุทธิ์
แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึง
แล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี
ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย
เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้
เสื่อมไปเสียเลย.

[463] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์
ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วย
ความ เป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า
พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมา
จาร และมโนสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละพวกเราทำเสร็จ
แล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิ
ได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง
หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[464] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ ปรากฏ
เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีอาชีวะ
บริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริ
และโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะบริสุทธิ์
แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึง
แล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี
ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย
เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้
เสื่อมไปเสียเลย.
[465] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอิน
ทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญ-

ชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ชื่อว่ารักษาจัก-
ขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ได้ยินเสียงดสต...ดมกลิ่นด้วยฆานะ..
ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว, จักไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมมนิน-
ทรีย์ ที่เมื่อสำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัป-
ปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว และเป็นผู้
มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเรา
ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้
ยิ่งขึ้นไป ได้มีพวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอ
ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[466] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักประมาณในโภชนะ
จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนอาหาร จักไม่กลืนเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา
เพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ จักกลืนเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เป็นไป ห่างไกลจา
ความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เท่านั้น และจะบำบัดเวทนา
เก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และจักให้อัตภาพดำเนินไป ไม่มีโทษ
อยู่สบายด้วยประการฉะนี้ บางทีพวกเธอจะมีความดำเนินไป ไม่มีโทษ
เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารวจีสมาจาร มโนสมา-
จาร อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้
จักประมาณในโภชนะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละพวกเราทำเสร็จ

และ สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิ
ได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง
หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[467] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ในความ
เป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วย
การจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสำเร็จการนอนดังราชสีห์
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความ
สำคัญในอันลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์
แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณใน
โภชนะ ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ
พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ
ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนเธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น
ไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[468] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วยสติสัมปชัญ-
ญะ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ใน
การคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการ

ฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง บางทีพวก
เธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมา
จาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนือง ๆ ในความเป็น
ผู้ตื่น และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเรา
ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไร ๆ ที่ควรทำให้
ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกเก่เธอ
ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ-
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[469] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจาก
บิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ
หน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว
ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็น
ผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความสำคัญหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ
ได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศล
ธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

[470] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไประ
กอบการงาน การงานเหล่านั้นของเราจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็น
ต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับ
เลี้ยงภรรยา เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบ
การงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิม
ให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา
ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็น
เหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึง
ความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ ละไม่มีกำลังกาย สมัยต่อ
มา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึง
มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บ
หนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้น
แล้ว บริโภคอาหารได้สละมีกำลังกาย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปรา
โมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจำอยู่ในเรือน
จำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยและไม่ต้องเสีย
ทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่
ในเรือนจำ บัดนี้เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสีย
ทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการ
พ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่
ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความ

เป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความ
พอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่
ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็น
ทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ความความ
พอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทแก่
ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ จะพึง
เดินทางไกลกันดาร สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ โดยสวัสดี
ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร บัดนี้ เราข้ามพ้นทาง
กันดารนั้นแล้ว โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย ดังนี้ เขาจะ
พึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ
ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 ประการเหล่า
นี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือเรือนจำ เหมือนความเป็น
ทาส เหมือนทางไกลกันดาร และพิจารณาเป็นนิวรณ์ 5 ประการเหล่า
นี้ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการ
พ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้น
แล.
[471] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง
จิตอันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-
ธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำ
กายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ

ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูก
ต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนาน
ผู้ฉลาด ใส่จุณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุณสี-
ตัวนั้นมียางซึมไปจับติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะ
นั้น.
[472] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบ
ไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่ม
ชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบ
เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้าน
ตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล
แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบ
อาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะ
ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
[473] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมป-
ชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยะทั้ง
หลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้
แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบ
เหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด ในกออุบล กอปทุม
หรือกอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิด เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจาก
น้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยงเอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและ

เหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะ
ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
[474] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าจตุตถฌานไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสในก่อนได้
มีความบริสุทธิ์แห่งสติที่อุเบกขาให้เกิดขึ้นอยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล
ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอด
ศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะ
ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
[475] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้
เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่
อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประ
การฉะนี้ เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้าน
แม้นั้นไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตาม
เดิม เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้าน
นั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจาก
บ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่าง
นั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของ
ตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาล
ก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่
เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง
อุทเทศ ด้วยประการฉะนี้.

[476] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมโน้ม
จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย
จักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรม เปรียบเหมือนเรือนสองหลังมีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุ ยืนอยู่ท่าน
กลางเรือน พึงเห็นหมู่มนุษย์ กำลงเข้าสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือน
บ้าง กำลังเดินไปบ้าง กำลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง
จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตก
ยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[477] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
โน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี้ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ
นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอยู่
อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะแม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชา
สวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ
ได้มี เปรียบเหมือนห้วงน้ำบนยอดภูเขา มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มี
จักษุดี ยืนอยู่ที่ขอบห้วงน้ำนั้น พึงเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระ-
เบื้อง ฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง เขามีความดำริว่า ห้วงน้ำนี้ มีน้ำ
ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้อง และฝูง
ปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่แล้ว กิจ
ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน
แล.
[478] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์
บ้าง นหาตกะบ้าง เวทคูบ้าง โสตติยะบ้าง อริยะบ้าง อรหันต์บ้าง.
ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า สมณะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นระงับเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
สมณะ.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า พราหมณ์ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นลอยเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พราหมณ์.
ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า นหาตกะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นอาบล้างเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่านหาตกะ.
ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเวทคู เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเวทคู.
ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าโสตติยะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นให้หลับไปหมดแล้ว อย่างนี้แล
ภิกษุ ชื่อว่าโสตติยะ.
ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอริยะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ห่างไกลภิกษุนั้น อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอริยะ.
ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า อรหันต์. เหล่าอกุศลธรรม อันลามกอันให้
เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ใหม่ ชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อ
ว่า อรหันต์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่น
ชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ มหาอัสสปุรสูตรที่ 9

อรรถกถามหาอัสสปุรสูตร



มหาอัสสปุรสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในมหาอัสสปุรสูตรนั้น. บทว่า องฺเคสุ ได้แก่ พวก
เจ้าชาวชนบท นามว่า อังคะ. ที่ประทับอยู่แห่งเจ้าอังคะเหล่านั้น แม้เป็นชนบท
เดียว ก็เรียกว่า อังคาดังนี้ เพราะศัพท์ขยายความถึง ในอังคชนบทนั้น.
บทว่า อสฺสปุรํ นาม องฺคานํ นิคโม ความว่า นิคมหนึ่งแห่งอังคชนบท มี
โวหารอันได้แล้ว โดยนามเมืองว่า อัสสปุระ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงกระทำนิคมนั้นให้เป็นโคจรคามแล้ว ประทับอยู่ บทว่า ภควา
เอตทโวจ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่าเป็นสมณะๆ ดังนี้ เป็นต้น.
ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่า
ในนิคมนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาเลื่อมใส มีความนับถือพระพุทธเจ้าว่า
เป็นของเรา นับถือพระธรรมว่าเป็นของเรา นับถือพระสงฆ์ว่าเป็นของ
เรา เห็นแม้สามเณรผู้บวชในวันนั้น ก็ทำให้เป็นเช่นกับพระเถระมีพรรษาตั้ง
ร้อย. พวกเขาเห็นภิกษุสงฆ์เข้าไปบิณฑบาตในเวลาเช้า แม้ถือพืชและคันไถ
เป็นต้นไปยังนา แม้ถือวัตถุมีขวานเป็นต้น เข้าไปยังป่า ก็จะวางอุปกรณ์เหล่า
นั้น แล้วปัดกวาดที่สำหรับนั่งของภิกษุสงฆ์หรืออาสนศาลา หรือมณฑป
หรือว่าโคนไม้ แล้วปูลาดอาสนะทั้งหลาย ตั้งเชิงรองบาตรและน้ำดื่ม แล้ว
นิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์นั่ง ถวายข้าวยาคูและของที่ควรเคี้ยวเป็นต้น ส่งภิกษุ
สงฆ์ผู้ทำภัตตกิจเสร็จแล้วไป จึงถืออุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จากที่นั้นไปสู่
นาหรือว่าป่ากระทำการงานทั้งหลายของตน. ในที่ทำงานเขาก็ไม่พูดกัน
อย่างอื่น พวกเขาเหล่านั้น ย่อมกล่าวคุณความดีของภิกษุสงฆ์นั่นแหละ
ด้วยคำว่า บุคคล 8 คือผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ชื่อว่า อริยสงฆ์ พระอริยสงฆ์